ยินดีต้อนรับสู่ BLOG สังคมศึกษาของผม ธัญญะ จันโททอง (โน๊ตเอง)

วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2558

บทที่ 1 สังคม

                         1.โครงสร้างทางสังคม 

           โครงสร้างทางสังคม หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีแบบแผนในการปฏิบัติร่วมกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน โครงสร้าง ของสังคม เปรียบได้กับบ้านเรือนที่เราอาศัยอยู่อย่าง สมบูรณ์ 
ประเภทของกลุ่มสังคม
         1.กลุ่มปฐมภูมิ เป็นกลุ่มที่มีความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกเป็นไปอย่าง แนบแน่น มีความใกล้ชิดสนิทสนมกันเป็นส่วนตัว ไม่มีพิธีรีตอง มีความสัมพันธ์ กันอย่างต่อเนื่อง
            2. กลุ่มทุติยภูมิ เป็นกลุ่มที่สมาชิกขาดความสนิทสนมคุ้นเคยเป็นส่วนตัว สัมพันธภาพระหว่างสมาชิกเป็นแบบทางการ สมาชิกของกลุ่ม ทุติยภูมิเป็น ลักษณะของกลุ่มขนาดใหญ่
                        
สถาบันทางสังคม
          สถาบันทางสังคม มีลักษณะเป็นนามธรรม หมายถึง แนวทาง ปฏิบัติ สิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างมีระเบียบแบบแผน ได้รับการยึดถือปฏิบัติจากสมาชิกของสังคม อย่างมั่นคงเป็นเวลานานพอสมควร สถาบันไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ๆ 
ประเภทของสถาบันทางสังคม
     ในทางสังคมศาสตร์ แบ่งสถาบันทางสังคมเป็น 7 ประเภทดังนี้
           1. สถาบันครอบครัว เป็นสถาบันพื้นฐานที่มีความสำคัญยิ่งของสังคม โดยได้วางแบบแผนสำหรับมนุษย์ในการปฏิบัติหน้าที่สนองความต้องการที่จำเป็น ของสังคม   
           2. สถาบันการปกครอง เป็นแบบอย่างของการคิด การกระทำ ในเรื่อง เกี่ยวกับการรักษาความสงบ การตัดสินใจร่วมกัน
           3. สถาบันศาสนา คือ แบบแผนของการคิด การกระทำในเรื่องเกี่ยวกับจิตใจ ศาสนา ศรัทธาของมนุษย์ ไสยศาสตร์ ฯลฯ 
           4. สถาบันการศึกษา เป็นแบบแผนในการคิด การกระทำเกี่ยวกับเรื่องการให้การศึกษาอบรมแก่สมาชิกใหม่ของสังคม 
           5. สถาบันเศรษฐกิจ เป็นแบบในการคิด การกระทำ เกี่ยวกับการผลิตสินค้า การผลิตอาหาร การแจกจ่ายสินค้า และการให้บริการแก่สมาชิกของสังคม 
           6. สถาบันสื่อสารมวลชน เป็นแบบในการคิดการกระทำในเรื่องการ ติดต่อ หรือส่งข่าวสารข้อมูล ประสบการณ์บทบาทของสังคมในด้านต่าง ๆ ไปสู่ ประชาชน 
           7. สถาบันนันทนาการ เป็นแบบแผนในการคิด การกระทำ เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจของสมาชิกในสังคม สถาบันนันทนาการครอบคลุมถึง ละคร ดนตรี กีฬา 
                   

สถานภาพและบทบาทของบุคคลในสังคม
          สถานภาพ หมายถึง ตำแหน่งของบุคคลในสังคมที่ได้จากการ เป็นสมาชิก ของสังคม สถานภาพจะกำหนดสิทธิและหน้าที่ของบุคคลที่มีต่อผู้อื่น ทั้งนี้เพื่อ ให้การติดต่อสัมพันธ์กันทางสังคมเป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผน 
ประเภทของสถานภาพ
          1. สถานภาพที่ได้มาโดยกำเนิด ได้แก่ เพศ อายุ เชื้อชาติ วงศ์ตระกูล ลำดับที่ของการเป็นบุตร ฯลฯ  
           2. สถานภาพที่ได้มาโดยการกระทำ ได้แก่ สถานภาพที่ได้มา ภายหลัง กำเนิด หรือได้มาเพิ่มเติมจากสถานภาพเดิม   
 ความหมายของบทบาท
          บทบาท หมายถึง การปฏิบัติตามหน้าที่ และสิทธิของตนตามสถานภาพ ในสังคม

หน้าที่ของสถานภาพและบทบาท
          1. ทำให้เกิดการแบ่งหน้าที่ระหว่างสมาชิก ตามความถนัดและ ความ สามารถ
          2. ทำให้สมาชิกในสังคมรู้ถึงฐานะและความรับผิดชอบของตนเอง 
          3. ทำให้สังคมมีความเป็นระเบียบ สมาชิกในสังคมปฏิบัติตามหน้าที่ ของตน ไม่ก้าวก่ายกัน
          4. ทำให้สมาชิกแต่ละคน รู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบของตนตาม สถานภาพ และบทบาทสมาชิกแต่ละคน รู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบของตนตาม สถานภาพ และบทบาท

                           2.การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคม  หมายถึง  วิธีการที่คนในสังคมกำหนดขึ้นมาเพื่อให้คนที่มาอยู่รวมกันประพฤติปฎิบัติตาม  รวมทั้งทำให้สังคมมีความมั่นคงและสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย  
                       

องค์ประกอบการจัดระเบียบสังคมเป็นสิ่งที่คนในสังคมสร้างขึ้นและเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม องค์ประกอบของการจัดระเบียบสังคม  ได้แก่
1. บรรทัดฐานทางสังคม  เกิดขึ้นเนื่องจากมนุษย์ต้องอยู่รวมกัน ซึ่งโดยปกติมนุษย์มักจะทำอะไรตามใจตัวเอง   โดยสมารถแบ่งออกได้ สามประเภท คือ
          1.1 วิธีชาวบ้านหรือวิถีประชา  หมายถึงแนวทางการประพฤติปฎิบัติต่างๆ  ที่กระทำอยู่เป็นประจำจนเกิดความเคยชิน เช่น  การกล่าวทักทาย แสดงความเคารพกับผู้ใหญ่ เป็นต้น
          1.2 จารีต  หมายถึง  แนวทางการประพฤติปฎิบัติของสมาชิกในสังคมที่เกี่ยวกับระบบศีลธรรมและสวัสดิภาพของสังคม  ถ้าบุคคลใดละเมิดหรือไม่ปฎิบัติตามจะได้รับการดูถูกเหยียดหยามจากสังคม  หรือถูกติเตียนอย่างรุนแรง
           1.3 กฎหมาย  หมายถึง  ระเบียบ  กฎเกณฑ์  ข้อบังคับของรัฐที่ตราขึ้น  โดยมีผู้มีอำนาจรัฐหรือตราขึ้นจากเจตนารมณ์ของคนในรัฐ  ถ้าใครไม่ปฎิบัติตามจะถูกลงโทษ เช่น ปรับ  จำคุก กักขัง ริบทรัพย์  ประหารชีวิต
2. สถานภาพ ในแต่ละสังคมที่เราพบเห็นนั้น  เมื่อดูผิวเผินก็จะพบคนและกลุ่มคนมากมาย  ซึ่งต่างก็มีการกระทำโต้ตอบกัน   โดยสถานภาพแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
            2.1 สถานภาพที่ติดตัวเรามาตั้งแต่กำเนิด  (Ascribed  Status) เป็นสภาพที่ได้มาโดยสังคมเป็นผู้กำหนด หรือเป็นสถานภาพที่ไมาทางเงื่อนไขทางชีวภาพ 
             2.2 สถานภาพที่ได้รับมาภายหลัง  (Achieved  Status) เป็นสถานภาพที่บุคคลนั้นได้รับมาภายหลังจากการกระทำ  แสวงหาหรือทำงานตามความสามารถของตน 
3.บทบาท  คือ การแสดงพฤติกรรม หรือการกระทำตามสถานภาพที่สังคมกำหนด สถานภาพและบทบาทจะมีความเกี่ยงข้องกันเมื่อพูดถึงสถานภาพก็จะพูดถึงบทบาทไปด้วย

3.การขัดเกลาทางสังคม
การขัดเกลาทางสังคมหมายถึง  กระบวนการอบรมสั่งสอนสมาชิกให้เรียนรู้ระเบียบของสังคมเพื่อให้เห็นคุณค่าและนำเอากฎเกณฑ์   ระเบียบปฎิบัติเหล่านั้นไปเป็นแนวทางในการประพฤติปฎิบัติ
การขัดเกลาทางสังคมอาจจำแนกได้  2  ประเภท
1.  การขัดเกลาทางสังคมโดยทางตรง  เช่นการอบรมสั่งสอน  ขัดเกลาที่พ่อแม่ให้กับลูก ไม่ว่าจะเป็นการสอนพูด 
2. การขัดเกลาทางสังคมโดยทางอ้อม   เช่น  การอ่านหนังสือพิมพ์  การฟังวิทยุหรือดูโทรทัศน์  ตลอดจนการดูภาพยนต์  ผู้รับจะเรียนรู้โดยไม่รู้ตัว  โดยสิ่งที่เรียนรู้จะค่อยๆซึมซับเข้าไปจิตใต้สำนึกว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้ที่สังคมยอมรับ  
ซึ่งมีตัวแทนที่ทำหน้าที่ในการขัดเกลาทางสังคม  ดังนี้
1. ครอบครัว  เป็นตัวแทนสำคัญที่สุดในการทำหน้าที่ขัดเกลาทางสังคม เพราะเป็นสถาบันแรกที่เด็กจะได้ระบการอบรมสั่งสอน
2. กลุ่มเพื่อน  เป็นตัวแทนที่ทำหน้าที่ขัดเกลาทางสังคมอีกหน่วยหนึ่ง  เนืองจากกลุ่มแต่ละกลุ่มย่อมมีระเบียบ  ความเชื่อและค่านิยมเฉพาะกลุ่มตนเอง 
3.โรงเรียน  เป็นตัวแทนสังคมที่ทำหน้าที่โดยตรงในการขัดเกลาสมาชิกตั้งแต่ในวัยเด็กจนถึงผู้ใหญ่  โดยอบรมด้านคุณธรรม  จริยธรรม  ขนบธรรมเนียม  ประเพณีต่างๆ
4. ศาสนา  เป็นตัวแทนในการขัดเกลาจิตใจของคนในสังคมยึดมั่นในสิ่งที่ดีงาม  มีศีลธรรม  จริยธรรม
5. กลุ่มอาชีพ   อาชีพแต่ละประเภทจะมีการจัดระเบียบปฎิบัติเฉพาะกลุ่ม  เช่น กลุ่มที่มีอาชีพค้าขายจะต้องมีความซื่อสัตย์ไม่เอาเปรียบลูกค้า 
6.  สื่อมวลชน  มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารของสมาชิกในสังคม  มีส่วนในการขัดเกลาทางสังคมแก่มนุษย์ในด้านต่างๆ 

                                        4.ลักษณะสังคมไทย
  
           

                                  
สังคมไทยมีลักษณะเป็นเอกสังคม ประกอบด้วยคนเชื้อชาติและสัญชาติไทยอยู่รวมกันเป็นส่วนใหญ่ ในปีพ.ศ. 2536 ประเทศไทยมีประชากรประมาณ 58 ล้านคนและปี พ.ศ. 2539 มีจำนวนประชากรประมาณ 60 ล้านคน ประเทศไทยจึงประสบปัญหาการเพิ่มจำนวนของประชากร

ลักษณะของสังคมไทย
1. เป็นสังคมเกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
2. เป็นสังคมที่มีการแบ่งชนชั้น โดยยึดจากฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม
3. เป็นสังคมที่ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นหลัก
4. มีโครงสร้างแบบหลวม ๆ ไม่เคร่งครัดในกฎเกณฑ์และระเบียบ ขาดระเบียบวินัย
5. พุทธศาสนามีอิทธิพลต่อความเชื่อและการดำเนินชีวิต
6. เป็นสังคมที่อยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลง